ชีวประวัติ ของ ฟราดาริกา มุนแซ็ญ

ฟราดาริกา มุนแซ็ญ เกิดวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1905 ในมาดริด ประเทศสเปน เธอเป็นลูกที่รอดชีวิตคนเดียวของฌูอัน มุนแซ็ญ (Joan Montseny) กับตาแรซา มัญเญ มิราแบ็ต (Teresa Mañé Miravet) ทั้งสองเป็นครู และเป็นนักอนาธิปไตยเชื้อสายกาตาลา พวกเขาอาศัยอยู่ในมาดริด เนื่องจากพ่อของเธอถูกจำคุกและต้องลี้ภัยในเวลาต่อมาเหตุจากเหตุระเบิดขบวนแห่วันสมโภชพระคริสตวรกายในบาร์เซโลนา ค.ศ. 1896 (1896 Barcelona Corpus Christi procession bombing) ทั้งสองกลับสเปนอย่างลับ ๆ และอาศัยอยู่ในเมืองหลวง ตั้งแต่ ค.ศ. 1898 บุพการีของเธอร่วมกันทำหน้าที่บรรณาธิการวารสารรายปักษ์ชื่อ ลาเรบิสตาบลังกา ซึ่งเป็นหนึ่งในวารสารอนาธิปไตยฉบับที่สำคัญที่สุดในเวลานั้น ครอบครัวเธอใช้เงินเก็บเพื่อหาบ้านในเขตชานเมืองของมาดริด ผู้พัฒนาที่สร้างบ้านพวกเขาขู่ฟ้องร้องพ่อของเธอ เมื่อเขากล่าวหาว่าผู้พัฒนาขโมยเงินจากคนจนที่จ่ายค่าบ้านที่ไม่ถูกสร้างเสียที ทำให้ครอบครัวต้องย้ายออกและใช้เวลาหลายปีหลังจากนั้นในการย้ายที่อยู่ตลอดเวลา และเอาชีวิตรอดด้วยการเขียนและการเพาะปลูกเป็นครั้งคราว ในวัยเด็กของมุนแซ็ญ หน่วยพิทักษ์​พลเรือน​ (Guardia Civil) มักมาเยี่ยมบ้านครอบครัวเธอเพื่อค้นหาพ่อของเธอ เธอถ่วงเวลาให้พวกเขาเข้ามาช้าที่สุดเพื่อให้เวลาพ่อเธอซ่อนตัว[1][2]

มุนแซ็ญได้รับการศึกษาที่บ้านจากบุพการีของเธอ หลังจากที่เธอมีทักษะอ่านเขียนแล้ว แม่ของเธอใช้วิธีการสอนแบบพิพัฒนาการเพื่อเสริมสร้างความอยากรู้อยากเห็นของลูกเธอ ทำให้มุนแซ็ญสามารถอ่านเนื้อหาที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมให้เธอไล่ตามความสนใจทางปัญญาของตัวเอง มุนแซ็ญได้รู้จักกับทั้งวรรณกรรมและทฤษฎีทางสังคมและการเมือง เธอยังกล่าวว่าการเติบโตในสิ่งแวดล้อมชนบทได้มีส่วนในพัฒนาการทางปัญญาของเธอ ตลอดชั่วชีวิตเธอ เธอจะกลับไปหาธรรมชาติเมื่อต้องจัดการกับปัญหาทางสังคม[3][2] เธอมีลูกสามคนกับฌาร์มินัล อัซเกลอัส[4]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฟราดาริกา มุนแซ็ญ http://cantic.bnc.cat/registres/CUCId/a10457215 http://dwardmac.pitzer.edu/Anarchist_Archives/brig... http://catalogo.bne.es/uhtbin/authoritybrowse.cgi?... http://data.bibliotheken.nl/id/thes/p289036542 http://www.centrefedericamontseny.org/ http://www.centrefedericamontseny.org/especiales.p... //doi.org/10.2307%2F3346171 //doi.org/10.4000%2Fmcv.3874 //doi.org/10.4000/mcv.3874 //www.jstor.org/stable/3346171